คุณรู้หรือไม่…”วอล์คเกอร์” คืออะไร แล้วควรเลือกอย่างไร ?

การเลือกอุปกรณ์ช่วยเดินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไม้เท้า วอล์คเกอร์ โรเรเตอร์ หรือแม้กระทั้งรถเข็นวีลแชร์นั้น ในมุมมองของผู้เขียน มีความเห็นว่า หากเป็นไปได้นั้น เราควรเริ่มต้นจากการเข้ารับคำปรึกษากับนักกายภาพบำบัด หรือแพทย์ เพื่อเลือกอุปกรณ์ที่เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน เหมาะสมกับสภาพร่างกาย และจุดประสงค์ของผู้ใข้งานครับ ตัวอย่างเช่น ผู้สูงวัยยังสามารถเดินได้ด้วยตนเองอยู่บ้าง หรือผู้ป่วยที่อยู่ในระยะพักฟื้นจากอุบัติเหตุที่ทำให้ไม่สามารถเดินได้อย่างสมดุล ก็สามารถเลือกใช้เพียงไม้เท้า หรือ วอล์คเกอร์เพื่อช่วยให้การใช้ชีวิตเป็นไปอย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

 

Blessed Family Home Care
ที่มา: blessed family homecare

 

วอล์คเกอร์ คืออะไร ?

วอล์คเกอร์ (Walker) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ช่วยเดินที่ผู้ใช้งานในประเทศไทยบางกลุ่มเรียกว่า “ไม้เท้า 4 ขา” (ซึ่งอันที่จริงแล้ว ไม้เท้าจะมีลักษณะอีกแบบหนึ่ง ใช้เพียงมือข้างใดข้างหนึ่งจับเท่านั้น) ปัจจุบันมักจะเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษกันว่า “วอล์คเกอร์” ครับ เจ้าสิ่งนี้จะมีลักษณะเป็นโครง 4 ขา เพื่อช่วยพยุง รองรับน้ำหนักของผู้ใช้งาน และด้านบนจะมีที่ให้มือจับอยู่ 2 จุด มีลักษณะที่ค่อนข้างใหญ่ หากนึกภาพไม่ออกว่าหน้าตาของวอล์คเกอร์เป็นอย่างไร มาดูภาพกันเลยครับ

ไม้เท้าสี่ขา
รูปร่างลักษณะของวอล์คเกอร์ ที่มา: Karma Mobility Thailand

 

ใครกันบ้างที่ต้องใช้งานวอล์คเกอร์ ?

  1. ผู้ที่มีปัญหาควบคุมการทรงตัวช่วงล่างได้ไม่มั่นคงมากนัก เช่น ผู้มีภาวะทางระบบประสาท ผู้ที่มีภาวะตอบสนองช้า เป็นต้น

  2. ผู้ที่ไม่สามารถทิ้งน้ำหนักไปที่ขาทั้งสองข้างได้สมดุล ต้องทิ้งน้ำหนักลงที่ขาใดขาหนึ่ง เช่น ผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงรักษาตัวจากการบาดเจ็บที่ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ เป็นต้น

  3. ผู้ที่มีปัญหาในการเดินเนื่องจากความเหนื่อยล้าของร่างกาย เช่น ผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ช่วยเหลือในการเดินเพื่อให้เดินสะดวกมากยิ่งขึ้น เป็นต้น

nurses-patient-walker - Northern NSW Local Health District
ผู้สูงอายุกำลังใช้งานวอล์คเกอร์แบบล้อ โดยมีผู้ดูแลคอยช่วยเหลืออยู่ข้างๆ ที่มา: Northern NSW Local Health District

 

วอล์คเกอร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท ?

โดยหลักๆ แล้ว วอล์คเกอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ ครับ ได้แก่

 

  1. วอล์คเกอร์แบบมาตรฐาน (Standard)

วอล์คเกอร์แบบมาตรฐาน จะมีลักษณะเป็นโครง 4 ขา โครงของวอล์คเกอร์ส่วนใหญ่มักทำมาจากอลูมิเนียม เพื่อน้ำหนักที่เบา แต่ยังแข็งแรงทนทาน บริเวณด้านบนจะมีที่ให้มือจับอยู่ 2 จุด บางรุ่นจะสามารถปรับระดับความสูงของวอล์คเกอร์ได้ เพื่อให้เข้ากับส่วนสูงของผู้ใช้งาน เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่มีช่วงแขนที่ยังแข็งแรงในระดับหนึ่ง

A woman supporting her weight using a walking frame without wheels
ที่มา: wikiwand

 

  1. วอล์คเกอร์แบบล้อ (Wheeled / Rollator)

วอล์คเกอร์แบบล้อ หรือที่เรียกกันว่า “โรเลเตอร์” จะมีลักษณะที่มีล้อติดอยู่กับขาของวอล์คเกอร์ ขึ้นอยู่กับการออกแบบว่าจะติดล้อทั้ง 4 ขา หรือเพียงแค่ 2 ขาข้างหน้าบนวอล์คเกอร์ โครงของวอล์คเกอร์ส่วนใหญ่มักทำมาจากอลูมิเนียม เพื่อน้ำหนักที่เบา แต่ยังแข็งแรงทนทาน แต่ในส่วนของที่จับอาจมีการปรับเปลี่ยนไปตามการออกแบบวอล์คเกอร์แบบล้อ บางผลิตภัณฑ์จะมีที่นั่ง หรือที่เก็บของด้วย ซึ่งทำให้วอล์คเกอร์แบบล้อมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่กว่าแบบมาตรฐาน ทั้งนี้หากใช้งานวอล์คเกอร์แบบล้อในพื้นที่บริเวณที่ปูพื้นด้วยพรม ผู้ใช้งานอาจเกิดความลำบากในการเข็นได้ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ควบคุมการทรงตัวได้ไม่มั่นคงมากนัก

วอล์คเกอร์แบบล้อ
ที่มา: Karma Medical

 

  1. วอล์คเกอร์แบบสวิง (Reciprocal)

วอล์คเกอร์แบบสวิง เป็นวอล์คเกอร์ที่มี 2 ฟังก์ชั่นในวอล์คเกอร์ชิ้นเดียว ซึ่งมีฟังก์ชั่นฟิกซ์(คงที่) และฟังก์ชั่นสวิง โดยสามารถปรับโหมดการใช้งานได้ว่าต้องการใช้งานฟังก์ชั่นฟิกซ์ หรือฟังก์ชั่นสวิง โครงของวอล์คเกอร์ส่วนใหญ่มักทำมาจากอลูมิเนียม เพื่อน้ำหนักที่เบา แต่ยังแข็งแรงทนทาน จุดเด่นของวอล์คเกอร์ประเภทนี้คือ “การเป็นวอล์คเกอร์แบบ 2-in-1 ระหว่างวอล์คเกอร์แบบมาตรฐาน และฟังก์ชั่นที่ทำให้วอล์คเกอร์สามารถสวิงได้ในขณะเดิน” ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้รู้สึกสะดวกสบายในการเดินมากขึ้น เดินได้มั่นคงมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้งานโหมดสวิง แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนในเรื่องขององศาของมุมสวิง ในกรณีที่วอล์คเกอร์นั้น ทำมุมได้แคบเกินไป จะทำให้การเดินของผู้ใช้งาน เป็นไปอย่างลำบากมากยิ่งขึ้น นอกจากต้องพิจารณาถึงองศาในขณะที่ใช้งานฟังก์ชั่นสวิงแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความง่ายต่อการเปลี่ยนการใช้งานจากฟังก์ชั่นฟิกซ์เป็นฟังก์ชั่นสวิง หากการเปลี่ยนโหมดฟังก์ชั่นค่อนข้างยุ่งยาก หรือต้องมีอุปกรณ์ถอดเข้าออกเพื่อเปลี่ยนโหมด อาจจะเพิ่มความลำบากแก่ผู้ใช้งานในการเปลี่ยนโหมดได้ครับ

ซึ่งผลิตภัณฑ์วอล์คเกอร์จากคาร์ม่า รุ่น WK 80 ตอบโจทย์กับปัญหาเหล่านี้ได้อย่างดี ไม่ว่าจะเป็นมุมองศาการสวิงที่อยู่ในระยะที่เหมาะสม ช่วยให้ผู้ใช้งานเดินได้อย่างสบายมากขึ้น รวมถึงขั้นตอนการเปลี่ยนการใช้งานจากฟังก์ชั่นฟิกซ์เป็นฟังก์ชั่นสวิงก็สะดวกกับผู้ใช้ ไม่ต้องมีอุปกรณ์เสริม หรือถอดชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งออก

Walker ไม้เท้าสี่ขา
ที่มา: วอล์คเกอร์คาร์ม่า รุ่น WK 80 จาก Karma Mobility TH 

ผู้เขียนเชื่อว่า ทุกผลิตภัณฑ์มีจุดเด่น จุดที่ต้องพัฒนาแตกต่างกันไป แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือกอุปกรณ์ช่วยเดิน คือ การเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับร่างกายผู้ใช้งาน หากเราเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ได้ตรงจุด ก็จะทำให้ผู้ใช้งานมีสุขภาพชีวิตที่ดีมากยิ่งขึ้นครับ

*บทความนี้ ทางทีมงานคาร์ม่าฯ ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากเว็บไซต์ About Wheelchair ให้สามารถนำมาลงบทความได้*

 

ติดตาม และรับข่าวสารอัพเดทกับทางคาร์ม่า โมบิลิตี้ร์ ได้ทาง 
Facebook: Karma Wheelchair Thailand
Line OA: @karmamedicalthai

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

บันทึกการตั้งค่า